
ค่ำคืนหนึ่งกับสวนพลูคอรัส
หากไม่นับการขับร้องประสานเสียงในศาสนกิจของคริสตชน และวงขับร้องประสานเสียงในสถาบันการศึกษา เช่นในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ในเมืองไทยก็ดูเหมือนจะมีวงขับร้องประสานเสียง อย่างที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า ควัยเออร์ (Choir) หรือ คอรัส (Chorus) อยู่น้อยเต็มที
หนึ่งในนั้นก็คือ คณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู (Suanplu Chorus) ภายใต้การอำนวยการของ “ครูดุษ” อาจารย์ดุษฎี พนมยงค์ และการอำนวยเพลงของอาจารย์ไกวัล กุลวัฒโนทัย ซึ่งบัดนี้ก็อยู่ยั้งยืนยงมาจนเข้าสู่ปีที่ 9 และกวาดรางวัลจากการประกวดวงขับร้องประสานเสียงมาแล้ว ทั้งในสาธารณรัฐประชาชนจีน สหพันธรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐออสเตรีย แต่ในเมืองไทยเอง นักร้องคณะนี้ก็ไม่ค่อยได้มีโอกาสขึ้นเวทีแสดงบ่อยนัก ดังนั้น คอนเสิร์ตประจำปี 2552 ที่ใช้ชื่อว่า Harmony of Life ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จึงยังไม่เพียงพอแก่ความต้องการของมหาชน กระทั่งต้องนำกลับคืนขึ้นสู่เวทีตามเสียงเรียกร้องอีกครั้ง เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 5 กันยายน 2552 ซึ่งก็ยังคงเรียกผู้ชมได้เต็มแน่นหอประชุมสถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ (สุขุมวิท 55) เช่นเดียวกัน
การแสดงเริ่มด้วยธรรมเนียมการไหว้ครู ทั้งฝั่งไทยและฝ่ายตะวันตก ด้วยเพลงคุรุนมัสการ (บทประพันธ์โดยผู้อำนวนเพลง ขับร้องเป็นภาษาบาลี) และเพลงครู อย่าง Laudate Dominum ของโมสาร์ท (W. A. Mozart) ก่อนที่ฉวัดเฉวียนข้ามทั้งกาละและเทศะ ไปสู่เพลงสารพัด เช่น Hallelujah ของแฮนเดล (G. F. Handel) ที่นำมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ให้เป็นแนวเพลงขับร้องแบบ Gospel เพลง Rosas Pandan เพลงพื้นเมืองเซบูจากฟิลิปปินส์ หรือเพลง Ipaphonia เพลงแนว Contemporary ที่ Branko Stark นักแต่งเพลงชาวโครเอเชียแต่งขึ้นสำหรับที่ประชุมนักภาษาศาสตร์ ด้วยการเล่นกับเสียงพยัญชนะต่างๆ ในภาษาตระกูลยุโรป
เมื่อเข้าสู่ครึ่งหลัง การแสดงก็เปลี่ยนเป็นเพลงไทย (เช่นเดียวกับที่นักร้องและผู้อำนวยเพลง เปลี่ยนชุดให้ออกแนวไทย/ตะวันออก) เพลงส่วนใหญ่ก็เป็นเพลงที่ผู้ชมผู้ฟังคุ้นเคยกันดี เช่น เขมรไทรโยค เส่เลเมา ยอยศพระลอ ส้มตำ และ รำวงเมดเลย์ ที่พิเศษ ก็คือเพลง คนทำทาง บทเพลงจากวงต้นกล้า วงดนตรีไทยแนว “เพื่อชีวิต” ในยุคหลัง 14 ตุลาคม ซึ่งใช้เนื้อร้องจากบทกวีของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ มีการอ่านบทกวีประกอบ โดยvอาจารย์ดุษฎี พนมยงค์ ซึ่งครูใช้เสียงและจังหวะได้อย่างทรงพลัง
ข้อเปรียบเทียบอย่างหนึ่งที่รู้สึกได้ คือเพลงในครึ่งหลังที่เป็นเพลงไทยนี้ ทางวงตั้งอกตั้งใจให้มีกลิ่นอายความเป็นไทยอย่างยิ่ง หลายเพลงถึงกับมีวงดนตรีไทยฝีมือเยี่ยมมาร่วมแจม ทว่า เนื่องจากเพลงทั้งหมดมาจากผู้เรียบเรียงเสียงประสานคนเดียวกัน ซ้ำยังชื่อ-นามสกุลเดียวกันกับผู้อำนวยเพลง ดังนั้น สีสันของแต่ละเพลงจึงฟังดูคล้ายๆ กันไปหมด อย่างไรก็ตาม การใช้ท่าทาง การร่ายรำ (รำวงเมดเลย์, ยอยศพระลอ) รวมถึงอุปกรณ์ประกอบ (เช่น ครก ในเพลงส้มตำ) ตลอดจนการที่ให้คนดูได้ร่วมร้องเพลงภายใต้การอำนวยเพลงของผู้อำนวยเพลงคนเดียวกัน ในเพลง เส่เลเมา ก็ถือเป็นสีสัน ที่สร้างจุดเด่น ความสนุกสนาน และความประทับใจให้แก่ผู้ชมได้เป็นอย่างดี
สิ่งหนึ่งที่คนดูทุกคนรับรู้ได้ชัดเจน ก็คือความสนุกและความสุขของนักร้อง ที่ฉายชัดผ่านออกมาทางสีหน้า แววตา และรอยยิ้มของทุกคน ลำพังเพียงเท่านั้น การร้องเพลงก็บรรลุวัตถุประสงค์ไปเรียบร้อยแล้ว เพราะความสอดคล้องประสานกันของชีวิต อย่างที่ใช้ชื่อคอนเสิร์ตว่า Harmony of Life นั้น ก็สื่อแสดงมาด้วยการทำงานร่วมกันระหว่างนักร้องชายหญิง ทั้งโซปราโน อัลโต เทเนอร์ และเบส ร่วมกับผู้อำนวยเพลง และนักดนตรี ได้อย่างงดงามกลมกลืน
หนึ่งในนั้นก็คือ คณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู (Suanplu Chorus) ภายใต้การอำนวยการของ “ครูดุษ” อาจารย์ดุษฎี พนมยงค์ และการอำนวยเพลงของอาจารย์ไกวัล กุลวัฒโนทัย ซึ่งบัดนี้ก็อยู่ยั้งยืนยงมาจนเข้าสู่ปีที่ 9 และกวาดรางวัลจากการประกวดวงขับร้องประสานเสียงมาแล้ว ทั้งในสาธารณรัฐประชาชนจีน สหพันธรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐออสเตรีย แต่ในเมืองไทยเอง นักร้องคณะนี้ก็ไม่ค่อยได้มีโอกาสขึ้นเวทีแสดงบ่อยนัก ดังนั้น คอนเสิร์ตประจำปี 2552 ที่ใช้ชื่อว่า Harmony of Life ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จึงยังไม่เพียงพอแก่ความต้องการของมหาชน กระทั่งต้องนำกลับคืนขึ้นสู่เวทีตามเสียงเรียกร้องอีกครั้ง เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 5 กันยายน 2552 ซึ่งก็ยังคงเรียกผู้ชมได้เต็มแน่นหอประชุมสถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ (สุขุมวิท 55) เช่นเดียวกัน
การแสดงเริ่มด้วยธรรมเนียมการไหว้ครู ทั้งฝั่งไทยและฝ่ายตะวันตก ด้วยเพลงคุรุนมัสการ (บทประพันธ์โดยผู้อำนวนเพลง ขับร้องเป็นภาษาบาลี) และเพลงครู อย่าง Laudate Dominum ของโมสาร์ท (W. A. Mozart) ก่อนที่ฉวัดเฉวียนข้ามทั้งกาละและเทศะ ไปสู่เพลงสารพัด เช่น Hallelujah ของแฮนเดล (G. F. Handel) ที่นำมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ให้เป็นแนวเพลงขับร้องแบบ Gospel เพลง Rosas Pandan เพลงพื้นเมืองเซบูจากฟิลิปปินส์ หรือเพลง Ipaphonia เพลงแนว Contemporary ที่ Branko Stark นักแต่งเพลงชาวโครเอเชียแต่งขึ้นสำหรับที่ประชุมนักภาษาศาสตร์ ด้วยการเล่นกับเสียงพยัญชนะต่างๆ ในภาษาตระกูลยุโรป
เมื่อเข้าสู่ครึ่งหลัง การแสดงก็เปลี่ยนเป็นเพลงไทย (เช่นเดียวกับที่นักร้องและผู้อำนวยเพลง เปลี่ยนชุดให้ออกแนวไทย/ตะวันออก) เพลงส่วนใหญ่ก็เป็นเพลงที่ผู้ชมผู้ฟังคุ้นเคยกันดี เช่น เขมรไทรโยค เส่เลเมา ยอยศพระลอ ส้มตำ และ รำวงเมดเลย์ ที่พิเศษ ก็คือเพลง คนทำทาง บทเพลงจากวงต้นกล้า วงดนตรีไทยแนว “เพื่อชีวิต” ในยุคหลัง 14 ตุลาคม ซึ่งใช้เนื้อร้องจากบทกวีของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ มีการอ่านบทกวีประกอบ โดยvอาจารย์ดุษฎี พนมยงค์ ซึ่งครูใช้เสียงและจังหวะได้อย่างทรงพลัง
ข้อเปรียบเทียบอย่างหนึ่งที่รู้สึกได้ คือเพลงในครึ่งหลังที่เป็นเพลงไทยนี้ ทางวงตั้งอกตั้งใจให้มีกลิ่นอายความเป็นไทยอย่างยิ่ง หลายเพลงถึงกับมีวงดนตรีไทยฝีมือเยี่ยมมาร่วมแจม ทว่า เนื่องจากเพลงทั้งหมดมาจากผู้เรียบเรียงเสียงประสานคนเดียวกัน ซ้ำยังชื่อ-นามสกุลเดียวกันกับผู้อำนวยเพลง ดังนั้น สีสันของแต่ละเพลงจึงฟังดูคล้ายๆ กันไปหมด อย่างไรก็ตาม การใช้ท่าทาง การร่ายรำ (รำวงเมดเลย์, ยอยศพระลอ) รวมถึงอุปกรณ์ประกอบ (เช่น ครก ในเพลงส้มตำ) ตลอดจนการที่ให้คนดูได้ร่วมร้องเพลงภายใต้การอำนวยเพลงของผู้อำนวยเพลงคนเดียวกัน ในเพลง เส่เลเมา ก็ถือเป็นสีสัน ที่สร้างจุดเด่น ความสนุกสนาน และความประทับใจให้แก่ผู้ชมได้เป็นอย่างดี
สิ่งหนึ่งที่คนดูทุกคนรับรู้ได้ชัดเจน ก็คือความสนุกและความสุขของนักร้อง ที่ฉายชัดผ่านออกมาทางสีหน้า แววตา และรอยยิ้มของทุกคน ลำพังเพียงเท่านั้น การร้องเพลงก็บรรลุวัตถุประสงค์ไปเรียบร้อยแล้ว เพราะความสอดคล้องประสานกันของชีวิต อย่างที่ใช้ชื่อคอนเสิร์ตว่า Harmony of Life นั้น ก็สื่อแสดงมาด้วยการทำงานร่วมกันระหว่างนักร้องชายหญิง ทั้งโซปราโน อัลโต เทเนอร์ และเบส ร่วมกับผู้อำนวยเพลง และนักดนตรี ได้อย่างงดงามกลมกลืน
ผู้ชมรายหนึ่งที่นั่งอยู่ข้างๆ ถึงแก่บ่นว่า กำลังสนุกก็จบเสียแล้ว!
ถ้าจะมีข้อวิจารณ์บ้าง ในสายตา (และหู) ของผู้ชมคนนี้ ยังคิดว่า คณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู อาจต้องหาทางเพิ่มปริมาณนักร้องชายให้ได้มากกว่านี้ เท่าที่เห็นบนเวที ดูเหมือนจะมีนักร้องหญิงอยู่ราว 20 กว่าคน ขณะที่นักร้องชายมีจำนวนเพียงครึ่งเดียวของนักร้องหญิง ความไม่สมดุลแบบนี้ แม้จะเข้าใจได้ว่าเกิดจากปัญหาการหานักร้องชายได้ลำบาก ซึ่งเป็นปัญหาอมตะนิรันดร์กาลของคณะนักร้องประสานเสียง (ไม่เฉพาะแต่ในเมืองไทย ได้ยินว่าที่อื่นๆ ก็เป็น) แต่ก็สร้างความไม่สมดุลของเสียงขึ้นบนเวทีด้วย เพราะเสียงเบสและเทเนอร์ของผู้ชาย ที่จะสร้างคอร์ด “อุ้ม” ทำนองหลักเอาไว้ ก็จะไม่มีพลังมากพอ โดยเฉพาะในเพลงแนวคลาสสิค เช่น Laudate Dominum ซึ่งรู้สึกได้ชัดเจนว่าเสียงผู้ชายมีน้อยเกินไป
อย่างไรก็ดี ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับสวนพลูคอรัส และก็อยากจะรอดูคอนเสิร์ตในปีที่ 10, 11, 12... ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อเติมลมหายใจให้แก่วงการขับร้องประสานเสียงในเมืองไทย ที่ดูคล้ายๆ จะเคลื่อนตัวสลับหยุดนิ่งอยู่เสมอมา...
Harmony of Life
คณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู
สถาบันปรีดี พนมยงค์
5 กันยายน 2552
http://www.suanpluchorus.com
เผยแพร่ครั้งแรก ที่นี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น